topics การเทรด

รูปแบบ Bull Pennant: วิธีเทรดด้วย Bull Pennant

ปานกลาง
การเทรด
แท่งเทียน
13 Th06 2023

Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้นเป็นกราฟรูปแบบต่อเนื่องที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อช่วยคุณระบุโอกาสในการซื้อ

ในบทความนี้ เราจะทบทวนรูปแบบธงสามเหลี่ยมขาขึ้น และอธิบายลักษณะของรูปแบบนี้ นอกจากนี้ เราจะเปรียบเทียบรูปแบบนี้กับรูปแบบกราฟทั่วไปอื่นๆ เพื่อให้คุณมั่นใจในการสังเกตและเทรดตามรูปแบบราคานี้ในตลาดคริปโตเคอเรนซีได้

ประเด็นสำคัญ:

  • Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้นเป็นรูปแบบต่อเนื่องที่แสดงโอกาสในการซื้อในตลาดคริปโต ปรากฏขึ้นหลังจากที่มีการพักตัวหลังแนวโน้มขาขึ้น

  • รูปแบบธงสามเหลี่ยมขาขึ้นเป็นที่นิยมของนักเทรด เนื่องจากเป็นสัญญาณของแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง

  • รูปแบบธงสามเหลี่ยมขาขึ้นแสดงจุดเข้าสู่ตลาดและจุดออกตลาดที่ชัดเจน รวมถึงอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม รูปแบบนี้สามารถเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นหรือแม้แต่รูปแบบกลับตัว (Reversal) ได้

รูปแบบ Bull Pennant คืออะไร

Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้น คือกราฟการเทรดรูปแบบต่อเนื่องที่ราคาจะหยุดและพักตัวในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากมีแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง จากนั้นราคาจะดีดตัวขึ้นอย่างสูงและกลับมาสู่แนวโน้มขาขึ้นที่ใหญ่กว่าเดิม รูปแบบนี้ถูกตั้งชื่อจากรูปร่างในช่วงพักตัว ซึ่งมักมีลักษณะคล้ายธงสามเหลี่ยมเมื่อราคารวมตัวกันก่อนที่จะทะลุสูงขึ้น ซึ่งตรงกันข้ามกับกราฟรูปแบบ Bear Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาลง

ธงสามเหลี่ยมขาขึ้นเกิดขึ้นเมื่อราคาคริปโตเคอเรนซีเพิ่มขึ้นในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร้ง แต่ผู้ซื้อบางคนก็ยังเชื่อว่าราคายังค่อนข้างไม่แพงและรอซื้อเมื่อราคาลดลง ในขณะเดียวกัน นักเทรดที่ซื้อช้าอาจรู้สึกกังวลและเลือกที่จะขายโพสิชันของตน เป็นผลให้ราคาของคริปโตลดลงเล็กน้อยและปริมาณลดลง 

ในระยะการพักตัวนี้ ปริมาณการเทรดมักจะต่ำ คริปโตเคอเรนซีจะดูเหมือนเด้งกลับไปมาอยู่ภายในช่วงราคาหนึ่ง โดยไม่มีความคืบหน้า หลังจากระยะเวลาสั้นๆ การขายจะหยุดลงและปริมาณการเทรดจะลดลงราวกับว่านักเทรดกลุ่มสุดท้ายออกจากตลาดแล้ว เมื่อปริมาณลดลง ผู้ซื้อจะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง ทำให้ราคาสูงขึ้นและฟื้นตัวสู่แนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง

Bull Pennant มีลักษณะอย่างไร

Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้นมีอยู่สามระยะซึ่งแบ่งตามจุดที่แตกต่างกันดังที่ปรากฏในกราฟด้านล่าง 

จุดที่ 1: จุดนี้เรียกว่า Flagpole หรือเสาธง เป็นจุดเมื่อตลาดคริปโตเผชิญกับการดีดตัวอย่างสูงและแข็งแกร่ง ดึงดูดให้นักเทรดจำนวนมากเข้ามาสู่แนวโน้ม 

จุดที่ 2:แนวโน้มขาขึ้นที่ก่อตัวขึ้นจะหยุดลงกะทันหัน ทำให้เกิดช่วงการพักตัวของตลาด จะมีการลดลงของราคาแต่ไม่มีความแข็งแกร่งหรือปริมาณมากพอที่จะคงอยู่ทำให้หายไปอย่างรวดเร็ว ในระยะการพักตัวนี้ การลดตัวลงของราคาจะตื้นและลดลงน้อยกว่า 38% ของการดีดตัวก่อนหน้า

การปรับฐานลดลงในระยะสั้นนี้จะหยุดและเริ่มดีดตัวขึ้นอีกครั้ง การดีดตัวครั้งนี้จะแตกต่างจากครั้งที่แล้วคือจะค่อนข้างอ่อนแรงและไม่สามารถทะลุราคาสูงสุดเดิมได้ เป็นผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคาแบบไซด์เวย์ (Sideway) หรือการแกว่งตัวของราคาที่ขึ้นและลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้แนวโน้มขาขึ้นก่อนหน้านี้สูญเสียโมเมนตัมไป เมื่อสังเกตกราฟรายวันจะพบว่าระยะการพักตัวอาจคงอยู่เป็นเวลานานหนึ่งถึงสามสัปดาห์ สำหรับกราฟที่มีกรอบระยะเวลาสั้น การพักตัวก็จะค่อนข้างสั้นเช่นกัน

จุดที่ 2.5:หากวาดเส้นแนวโน้มสองเส้นตามขอบด้านนอกของการพักตัว สองเส้นนี้จะบรรจบกันและสร้างรูปร่างของสามเหลี่ยมแคบ (Contracting Triangle) รูปแบบที่โดดเด่นนี้แสดงลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์ ซึ่งขอบเขตบนและล่างของช่วงราคาจะค่อยๆ บรรจบกันเมื่อเวลาผ่านไป 

สามเหลี่ยมแคบนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการระบุรูปแบบ เนื่องจากจะนำไปสู่การต่อเนื่องของแนวโน้มขาขึ้นที่สูงขึ้นและแข็งแกร่ง ในช่วงการพักตัวนี้ ปริมาณการเทรดจะลดลง การต่อสู้ระหว่างแนวโน้มขาลงและขาขึ้นจะดูเหมือนสงบลง ไม่แสดงแน่ชัดว่าเป็นขาลงหรือขาขึ้น หยุดอยู่กับตำแหน่งเดิมทำให้การพักตัวลากยาวต่อไป ในจุดนี้ รูปแบบจะดูเหมือนสามเหลี่ยมที่อยู่บนแท่ง ทำให้เกิดรูปธงสามเหลี่ยมขึ้น และกำหนดแนวโน้มการเทรดขาขึ้น

จุดที่ 3: ท้ายที่สุดแล้วการพักตัวจะพุ่งสูงขึ้นจนทะลุสูงกว่ากรอบ (Breakout) โดยผู้ซื้อกลับเข้าสู่ตลาด ซึ่งคราวนี้จะแข็งแกร่งพอกับการดีดตัวครั้งแรก การทะลุของราคานี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก FOMO และการที่ผู้ซื้อไม่ต้องการพลาดแนวโน้มต่อไปที่จะสูงขึ้นอีก ทำให้เห็นความไม่สมดุลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเด่นชัดขึ้นจนราคาปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งช่วงเวลาของการดีดตัวครั้งที่สองอาจยาวนานเท่ากับความสูงของเสาธงเริ่มแรก สรุปก็คือการพักตัวแสดงถึงจุดกึ่งกลางของการดีดตัวทั้งหมด 

Bull Pennant vs Bull Flag

ในแง่ของการวิเคราะห์ทางเทคนิค Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้นนั้นมีความคล้ายคลึงกับ Bullish Flag หรือธงขาขึ้นในหลายประการ โดยทั้งสองรูปแบบเป็นรูปแบบต่อเนื่องที่มีการพักตัวของแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งการพักตัวของราคานี้เป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การดีดตัวของราคาในท้ายที่สุด อย่างไรก็ตาม สองรูปแบบนี้มีรูปร่างแตกต่างกันเล็กน้อย Bull Flag หรือธงขาขึ้น มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีเส้นแน้วโน้มขนานกันในระยะการพักตัว ขณะที่ Bull Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้นมีรูปร่างคล้ายกับสามเหลี่ยม

นักวิเคราะห์หลายคนต่างถกเถียงกันว่ารูปแบบใดที่มีประสิทธิภาพมากกว่ากันระหว่าง Bull Pennant และ Bull Flag ในแง่หนึ่งรูปร่างสามเหลี่ยมของ Bull Pennant นั้นชี้ให้เห็นว่าแทบจะไม่มีผู้ขายเหลืออยู่ในตลาด ทำให้ช่วงเวลาการพักตัวสั้นกว่า ขณะที่รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าของ Bull Flag นั้นมีผลในการ “ทำให้ผู้ซื้อที่มีแนวโน้มกลัว” ได้ บังคับให้พวกเขาต้องขายทันทีก่อนที่รูปแบบนี้จะสิ้นสุดลงและการดีดตัวจะเริ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม รูปแบบทั้งสองนี้แสดงให้เห็นถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งและได้รับการยอมรับอย่างมากจากนักเทรด 

Bull Pennant vs สามเหลี่ยม

Bullish/Bearish Pennant หรือธงสามเหลี่ยมขาขึ้น/ขาลง และรูปแบบสามเหลี่ยมแตกต่างกันอย่างไร รูปแบบเหล่านี้มีความคล้ายเคียงกันเมื่อมองคร่าวๆ และมีความคาบเกี่ยวกันหลายประการ รูปแบบกราฟ Bull Pennant ยังมีรูปร่างคล้ายกับสามเหลี่ยมสมมาตรในระยะการพักตัวรวมถึงเส้นแนวโน้มที่บรรจบกันด้วย อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างหลักๆ นั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังที่จะเกิดเป็นสามเหลี่ยม และระยะเวลาที่สามเหลี่ยมคงอยู่

หากสังเกตรูปแบบ Bull Pennant จะพบว่ามีการดีดตัวที่สูงและเป็นเวลานานมีลักษณะคล้ายกับเสาธง จากนั้น รูปแบบจะพักตัวเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่รูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตรไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวของแนวโน้มที่แข็งแกร่งก่อนหน้าที่จะเกิดสามเหลี่ยม

ประการที่สอง หลังจากสามเหลี่ยมในรูปแบบ Pennant ก่อตัวขึ้น จะคาดการณ์ได้ชัดเจนว่าชายธงจะทะลุไปยังทิศทางใด ซึ่งจะทะลุไปยังทิศทางของแนวโน้มก่อนหน้า ในกรณีของธงสามเหลี่ยมขาขึ้นนั้นจะทะลุไปด้านบน ส่วนสามเหลี่ยมปกติอาจทะลุไปด้านบนหรือด้านล่างก็ได้

ความแตกต่างหลักประการที่สามระหว่างรูปแบบ Pennant และสามเหลี่ยมคือระยะเวลาที่พวกมันคงอยู่ สัดส่วนสามเหลี่ยมของ Pennant มักจะสั้นกว่ารูปแบบสามเหลี่ยมทั่วไป ระยะเวลาที่สั้นของสามเหลี่ยม Pennant เกิดขึ้นเนื่องจากอารมณ์ของการปรับฐานที่สูงและนักเทรดส่วนใหญ่ไม่เทคำสั่งขายจำนวนมากๆ สู่ตลาด ในทางตรงกันข้าม รูปแบบสามเหลี่ยมปกติสามารถอยู่ได้นานหลายปีและมีแนวโน้มขนาดเล็กต่างๆ เกิดขึ้นก่อน

Bull Pennant vs Wedge

Bull Pennant และ Rising Wedge หรือรูปแบบลิ่มที่เพิ่มขึ้น แตกต่างกันอย่างไร สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้มากนักในด้านนี้ รูปแบบเหล่านี้อาจดูเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ทั้งสองรูปแบบนี้มีเส้นบรรจบกันสองเส้นที่ทำให้เกิดรูปร่างเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้เรียนรู้ถึงปัจจัยที่แตกต่างกันระหว่างสองรูปแบบนี้จะพบว่ามีความแตกต่างกันมาก

ประการแรกคือทั้งสองมีรูปร่างค่อนข้างแตกต่างกัน ถึงแม้ทั้งสองรูปแบบจะมีเส้นแนวโน้มแนวรับชี้สูงขึ้น แต่จะพบว่าความแตกต่างที่ใหญ่ที่สุดคือทิศทางของเส้นแนวโน้มแนวต้าน ในรูปแบบ Rising Wedge แม้ว่าเส้นแนวโน้มจะบรรจบกัน แต่เส้นแนวโน้มด้านบนจะชี้สูงขึ้นในทิศทางเดียวกับเส้นแนวโน้มด้านล่าง ในรูปแบบ Bull Pennant จะพบว่าเส้นแนวโน้มด้านบนชี้ลงมา

ประการที่สองคือตำแหน่งของรูปแบบภายในแนวโน้มขนาดใหญ่มีความแตกต่างกันมาก รูปแบบกราฟ Pennant จะมีตำแหน่งอยู่ตรงกลางในแนวโน้มขนาดใหญ่ รูปแบบกราฟ Bull Pennant มักจะเพิ่มขึ้นไปสู่การดีดตัวที่แข็งแกร่ง ในทางตรงกันข้าม รูปแบบ Rising Wedge อาจมีตำแหน่งอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ภายในแนวโน้มขนาดใหญ่ รูปแบบ Wedge มักจะพบในจุดเริ่มต้นของแนวโน้มใหม่หรือจุดสิ้นสุดของแนวโน้มเดิม เนื่องจากแนวโน้มพยายามที่จะจัดระเบียบตัวเอง (จุดเริ่มต้น) หรือสูญเสียโมเมนตัม (จุดสิ้นสุด)

วิธีเทรด Bull Pennant

ขอแสดงความยินดีด้วยหากคุณระบุ Bull Pennant ได้แล้ว เพราะคุณได้ผ่านส่วนหนึ่งที่ยากที่สุดของการเทรดรูปแบบนี้แล้ว การเทรดภายหลังจากนี้อาจให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เนื่องจากการตั้งค่านั้นทำได้ง่ายมากและไม่ซับซ้อน

การระบุรูปแบบ Bull Pennant ในกราฟคริปโต

หากดูกราฟรายชั่วโมงจะพบว่ารูปแบบ Bull Pennant นั้นปรากฏขึ้นหลังจากแนวโน้มที่แข็งแกร่ง การเคลื่อนไหวครั้งแรกจะสร้างรูปเสาธงของรูปแบบนี้ขึ้น จากนั้นราคาจะพักตัวแบบไซด์เวย์ หรือแกว่งตัวขึ้นลงเพียงเล็กน้อย

ดูจากภาพประกอบด้านล่าง Bitcoin เริ่มดีดตัวสูงขึ้นในเดือนมกราคมปี 2023 หลังจากมีการปรับฐานเป็นระยะเวลานานในปี 2022 

BTC เริ่มปรับฐานลดลงเนื่องจากนักเทรดทำกำไรได้ ความลึกของการพักตัวแบบไซด์เวย์นี้ตื้น ทำให้เกิดการลดตัวลงน้อยกว่า 38% ของแนวโน้มเสาธงก่อนหน้า

Bitcoin เริ่มแกว่งตัวไปมาเพียงเล็กน้อย โดยไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนว่าจะไปในทิศทางใด เราสามารถสังเกตเส้นแนวโน้มสองเส้นที่บรรจบกันตามขอบด้านนอกได้ และรูปแบบจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น การก่อตัวนี้สร้างตัวอย่างที่ดีสำหรับการตั้งค่าการเทรดด้วย Bull Pennant

การเปิดโพสิชันซื้อ (Long)

หลังจากสังเกตรูปแบบได้แล้วก็ได้เวลาวางแผนเข้าสู่ตลาด

การเข้าที่ง่ายที่สุดคือเข้าที่จุดสูงสุดของรูปแบบ ตั้งค่าคำสั่งเข้าเพื่อซื้อเมื่อตลาดดีดตัวสูงขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ การส่งคำสั่งเข้าที่จุดสูงของรูปแบบจะช่วยป้องกันคุณจากการทะลุหลอกของราคา (False Breakout) และมั่นใจได้ว่า Bitcoin พร้อมที่จะเพิ่มขึ้นสู่ราคาสูงสุดใหม่จริงๆ หากเป็นเช่นนั้นจะส่งผลให้เกิดการพุ่งตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะจุดประกายให้เกิดการดีดตัวอีกครั้ง

การส่งคำสั่ง Stop Loss

คำสั่ง Stop Loss จะต้องส่งที่ด้านล่างของรูปแบบใกล้กับจุดต่ำสุดล่าสุด 

ตำแหน่ง Stop Loss ที่ดีที่สุดคือต่ำกว่าเส้นแนวโน้มแนวรับของรูปแบบ ด้วยวิธีนี้ หาก Bitcoin ลดลงต่ำกว่าเส้นแนวรับ รูปแบบ Bull Pennant จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป ซึ่งชี้ว่ารูปแบบอื่นกำลังเกิดขึ้น

การรู้ว่าควรส่งคำสั่ง Take Profit ที่ตำแหน่งใด

ปกติแล้วจะพบ Bull Pennant ได้ที่บริเวณจุดกึ่งกลางของการดีดตัว คุณสามารถวัดได้จากการดีดตัวครั้งแรก จากนั้นวัดไปที่จุดสิ้นสุดของชายธงใกล้กับจุดสุดท้ายของเส้นแนวโน้มแนวรับ สามารถใช้เครื่องมือขยาย Fibonacci ในการวัดสถานการณ์เหล่านี้ได้

สำหรับ BTC ในกราฟด้านบน เป้าหมาย Take Profit ใกล้กับ $21,000

ซึ่งในความเป็นจริง ไม่กี่วันต่อมา BTC ก็ดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีมูลค่าเกือบ $21,500 ในเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมา

ข้อดีและข้อจำกัดของรูปแบบ Bull Pennant

รูปแบบ Bull Pennant ยังคงมีข้อกำจัด เช่น เมื่อรูปแบบพัฒนาขึ้นอาจมีลักษณะเหมือนกับธงสามเหลี่ยมแต่แปรสภาพเป็นธง สามเหลี่ยม หรือ Wedge เหตุผลเป็นเพราะ Pennant เป็นรูปแบบที่สั้น และอาจพัฒนาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากสภาวะของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นอกจากนี้ หากช่วงเวลาการพักตัวของสามเหลี่ยมยาวนานออกไป โอกาสที่จะเกิดแนวโน้มขาขึ้นอย่างต่อเนื่องจะลดลง ในขณะเดียวกันก็หมายความว่าความเป็นไปได้ของการกลับตัว (Reversal) ทันทีจะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจสร้างความหงุดหงิดให้กับนักเทรดขาขึ้นได้

ในการเอาชนะข้อจำกัดนี้ ให้รอเพื่อเทรดในตอนที่ราคาทะลุขึ้นสู่ราคาสูงสุดใหม่ แทนที่จะพยายามเข้าซื้อที่ราคาต่ำสุดของสามเหลี่ยม ด้วยวิธีนี้ คุณจะรอดพ้นจากการเทรดที่ขาดทุนหากการเคลื่อนไหวของราคาเคลื่อนตัวต่ำลงโดยไม่ทะลุสูงขึ้น 

ข้อจำกัดอีกประการของรูปแบบ Bull Pennant คือหากคุณติดตามรูปแบบนี้ในกราฟรายนาที จะได้รับข้อมูลกระจัดกระจาย และอาจทำให้การสังเกตรูปแบบมีจุดบกพร่อง เนื่องจากข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ตลาดไม่เพียงพอเพื่อสร้างสัญญาณที่เชื่อถือได้ เป็นผลให้กรอบระยะเวลาของกราฟขนาดเล็กมีความเสี่ยงสูงแม้ว่าจะเกิดการทะลุกรอบขาขึ้น (Bullish Breakout) ก็ตาม

ปิดท้าย

Pennant คือรูปแบบต่อเนื่องที่สามารถนำนักเทรดไปสู่การเคลื่อนไหวของราคาที่มีนัยสำคัญได้ โครงสร้างของรูปแบบทำให้การเทรด Bull Pennant ง่ายที่จะประสบผลสำเร็จ เมื่อสังเกตพบแล้ว การเทรดภายหลังก็สามารถสร้างโอกาสจากอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมได้

เนื่องจากความเรียบง่ายนี้ รูปแบบ Bull Pennant จึงเป็นที่นิยมในบรรดานักเทรดคริปโต

การใช้รูปแบบแท่งเทียนอย่างนักเทรดมืออาชีพ

รูปแบบแท่งเทียนที่ดีที่สุด รายการรูปแบบแท่งเทียนที่คัดสรรมาแล้วว่านักเทรดใช้บ่อยที่สุด

วิธีอ่านแท่งเทียนในคริปโต เรียนรู้พื้นฐานของรูปแบบแท่งเทียน

รูปแบบกราฟคริปโต — (พื้นฐานกราฟ: แนวโน้ม, Neckline, Wedge)

Doji — หน่วยแท่งเทียนพื้นฐาน

รูปแบบแท่งเทียนขาขึ้น

รูปแบบแท่งเทียนขาลง

รูปแบบแท่งเทียนอื่นๆ