Guides เกี่ยวกับ Bybit P2P

วิธีหลีกเลี่ยงการหลอกลวงและการฉ้อโกงเกี่ยวกับคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P

เริ่มต้น
เกี่ยวกับ Bybit P2P
8 มี.ค. 2023

เทคโนโลยีแบบ Peer-to-Peer ที่ขับเคลื่อนบิตคอยน์และคริปโตเคอเรนซีสกุลต่าง ๆ มักได้รับการยกย่องว่ามีความปลอดภัยเนื่องจากใช้บล็อกเชนบันทึกการทำธุรกรรม ซึ่งบันทึกเหล่านี้จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปดูได้ในภายหลัง แต่เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่กำลังเติบโตและยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สิ่งที่ตามมาในโลกคริปโตก็คือการหลอกลวง หรือสแกม จำนวนไม่น้อย

ตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนคือบริษัทที่มีชื่อว่าBitconnect ซึ่งในที่สุดแล้วก็ต้องปิดตัวลงใน 2018 การหลอกลวงครั้งนั้นส่งผลให้มีการสูญเงินมากถึง 3.45 พันล้านดอลลาร์ จนถึงตอนนี้ เรื่องนี้ก็ยังเป็นตัวอย่างของสแกม ICO ที่ใหญ่ที่สุด จากการที่สัญญากับนักลงทุนไว้ว่าจะได้ผลตอบแทนมากถึง 40% ก่อนที่จะกลายมาเป็นมหากาพย์แชร์ลูกโซ่ครั้งใหญ่

แม้ตอนนี้จะยังไม่มีการหลอกลงทุนคริปโตที่ใหญ่เท่ากรณีของ Bitconnect แต่อาชญากรรมที่เกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีก็เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลก จาก รายงานล่าสุด พบว่านักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์โกงคริปโตไปได้ราว 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2021 สูงเกือบสองเท่าจากในปี 2020 ที่มีการสูญเงินไป 7.8 พันล้านดอลลาร์ 

การหลอกลวง ICO อย่างกรณีของ Bitconnect เป็นเพียงหนึ่งในแทคติกที่อาชญากรคริปโตนำมาใช้ ในคู่มือแนะนำนี้ เราจะมุ่งไปที่การหลอกลวงบบ P2P และวิธีหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนี้ 

การหลอกลวงคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P คืออะไร

การหลอกลวงคริปโตประเภทนี้จะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มซื้อขายแบบ Peer-to-Peer (P2P) ซึ่งเป็นที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้มาเจอกัน โดยแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดและคนกลางผู้ให้บริการดูแลผลประโยชน์ (เอสโครว์) เพื่ออำนวยความสะดวกในการโอน การหลอกลวงจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ขายพยายามหาช่องทางเข้าไปในระบบเอสโครว์ด้วยการขอการชำระเงินจากตัวกลางจากภายนอก เมื่อผู้ซื้อทำการชำระเงินแล้ว ผู้ขายจะอ้างว่าไม่ได้รับเงินและปฏิเสธที่จะทำตามข้อตกลงในฝั่งของตัวเอง ผู้ใช้แพลตฟอร์ม P2P นั้นจะต้องมีความไว้วางใจกันในระดับหนึ่ง และนั่นคือวิธีที่บรรดาสแกมเมอร์ฉกฉวยโอกาสเพื่อหาประโยชน์ให้ตัวเอง

แพลตฟอร์ม P2P คือสถานที่ที่ผู้ที่ต้องการขายคริปโตมาเจอกับผู้ที่ต้องการซื้อ นักเทรดที่สนใจขายคริปโตสามารถสร้างโฆษณาบนแพลตฟอร์ม P2P ได้ จากนั้นแพลตฟอร์มจะโฆษณานักเทรดที่มีโทเค็นที่ผู้ซื้อต้องการ แล้วผู้ซื้อก็จะเลือกนักเทรดที่ต้องการซื้อขายด้วย 

ตามหลักการแล้ว เมื่อใช้แพลตฟอร์ม P2P สำหรับการเทรดคริปโต ทั้งสองฝ่ายจะต้องแจ้งบัญชีอีวอลเลตหรือบัญชีธนาคารสำหรับการทำธุรกรรม แพลตฟอร์ม P2P จะถือคริปโตซึ่งกำลังถูกซื้อขายผ่านเอสโครว์เอาไว้และปล่อยออกมาเมื่อธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ เมื่อการซื้อขายส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยไม่มีปัญหา แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีตัวละครร้ายที่จ้องจะหลอกคุณ 

บริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ บางครั้งก็อาจเป็นดาบสองคม ในแง่หนึ่ง การที่ไม่มีหน่วยงานรัฐเป็นผู้ควบคุมอยู่เพียงฝ่ายเดียวก็ทำให้มีอิสระมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อปราศจากการกำกับดูแลที่เป็นมาตรฐาน สแกมเมอร์ก็สามารถฉ้อโกงและหลอกลวงนักลงทุนที่ไม่ได้ระวังสงสัยได้หลายวิธี ประเภทของการหลอกลวงที่พบบ่อยที่สุดมีดังนี้

  • การหลอกลวงจากการสวมรอย: เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อหรือผู้ขายพยายามใช้บัญชีชำระเงินของบุคคลที่สามที่ไม่รู้จักเพื่อทำธุรกรรมให้สมบูรณ์ โดยอาจจะส่งข้อมูลสำหรับการชำระเงินใหม่มาให้ผ่านทางแชต และขอให้คุณส่งเงินไปที่นั่นแทน เมื่อคุณทำการโอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว บุคคลเหล่านั้นจะอ้างว่าไม่ได้รับเงิน 

  • การหลอกลวงจากการปฏิเสธการชำระเงิน ผู้ขายและผู้ซื้อตกลงที่จะเทรดคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P จากนั้นผู้ซื้อจะโอนเงินไปยังบัญชีของผู้ขายเพื่อให้ปล่อยคริปโตออกมา แต่เมื่อคริปโตออกจากวอลเล็ตของผู้ขายแล้ว ผู้ซื้อจะโทรหาธนาคารภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อรายงานว่าตนไม่เคยอนุญาตการโอนนั้น โดยอาจอ้างว่าการทำธุรกรรมนั้นเป็นการฉ้อโกงหรือผิดพลาด ดังนั้นธนาคารจึงยกเลิกการชำระเงินและยกเลิกการทำธุรกรรม ทำให้ผู้ขายสูญเสียคริปโต รวมถึงกำไรจากการขายนั้นด้วย

แต่โชคดีที่คุณอาจสู้กับการหลอกลวงบน P2P นี้ได้ตราบใดที่คุณดำเนินการอย่างรอบคอบ เราจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมว่าต้องทำอย่างไรในบทความนี้

นอกจากนี้ เราควรรู้ด้วยว่าการหลอกลวงบน P2P จะต่างจาก การโจมตีด้วยแฟลชโลน ซึ่งจะเกิดบนแพลตฟอร์มที่ให้กู้ยืม P2P การโจมตีด้วยแฟลชโลนเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ที่ละเมิดความปลอดภัยของ smart contract ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ที่ให้กู้ยืมโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งต่างจากการหลอกลวงบน P2P 

แม้การหลอกลวงคริปโดยทั่วไป จะเกิดขึ้นเป็นปกติ แต่ข่าวมักให้ความสนใจและเล่นข่าวใหญ่ ขณะที่ความเสียหายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับปริมาณการเทรดทั้งหมด มีรายงานว่าการซื้อขายคริปโตเคอเรนซีในปี 2021 มีปริมาณการเทรดสูงกว่า 14 ล้านล้านดอลลาร์ ฉะนั้น 14 พันล้านที่ถูกโกงไปโดยสแกมเมอร์ในปีนั้นจึงเป็นแค่เรื่องขี้ประติ๋ว 

สแกมบน P2P ต่างจากในคริปโตอย่างไร

การหลอกลวงบน P2P ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือจะเกิดเฉพาะบนแพลตฟอร์มคริปโตเพียงอย่างเดียว การหลอกลวงเช่นนี้มีมานานแล้วในรูปแบบอื่นตั้งแต่แพลตฟอร์ม P2P เกิดขึ้น ไม่ว่าจะบนแพลตฟอร์ม P2P แบบดั้งเดิมหรือ P2P ในคริปโต การหลอกลวงในลักษณะนี้มักเกี่ยวข้องกับกลไกการทำงานของ Man-In-The-Middle (MITM) หรือความพยายามในการโอนโดยบุคคลที่สาม

เนื่องจากแพลตฟอร์ม P2P ไม่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดเหมือนกับธนาคาร ผู้ใช้จึงต้องแบกภาระเรื่องการตรวจสอบไว้เอง เมื่อเลือกแพลตฟอร์มหรือแอป P2P ควรระวังสัญญาณเตือนง่าย ๆ ก่อนเริ่มเทรด ดังนี้

  • ไม่มีระบบคนกลางผู้ดูแลผลประโยชน์: แพลตฟอร์ม P2P จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมด้วยบริการเอสโครว์ที่ปลอดภัย เมื่อมีการตกลงที่จะขายคริปโต คริปโตจำนวนนั้นจะถูกเก็บไว้ในเอสโครว์จนกระทั่งมีการยืนยันการชำระเงิน การที่ไม่มีระบบคนกลางดูแลผลประโยชน์ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างมากสำหรับแพลตฟอร์มเทรดคริปโตที่ให้บริการแบบ P2P

  • ได้รับคะแนนน้อยจากลูกค้า: รีวิวคือที่ที่ลูกค้าบอกสิ่งที่พวกเขาคิดอย่างแท้จริง เมื่อเลือกแอป P2P ให้ตรวจสอบรีวิวเพื่อดูว่าผู้ใช้คนอื่น ๆ แสดงความคิดเห็นไว้อย่างไร หากมีหลายคนที่มาร้องเรียนว่าไม่สามารถถอนหรือทำการซื้อได้ หรือไม่สามารถติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้าเพื่อให้ได้รับการติดต่อกลับอย่างรวดเร็ว นั่นเป็นสัญญาณอันตราย

  • เว็บไซต์ไม่ปลอดภัย: อย่าส่งข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนหรือข้อมูลด้านการเงินผ่านเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย เว็บที่ไม่มีการรับรอง SSL ที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการรับรองว่าข้อมูลส่วนตัวจะได้รับการส่งอย่างปลอดภัย อาจจ้องขโมยข้อมูลคุณอยู่ได้ ที่แถบนำทาง คุณควรสังเกตดูว่าใน URL มีตัวอักษร https (ที่อยู่เว็บไซต์ต้องเริ่มต้นด้วย www.https) พร้อมกับไอคอน () ด้วยหรือไม่ นี่คือวิธีง่าย ๆ ที่คุณสามารถดูได้ว่าเว็บปลอดภัยหรือไม่อย่างรวดเร็ว 

  • ไม่มีตัวตนในโซเชียลมีเดีย: แพลตฟอร์ม P2P ที่ดี จะมีสื่อโซเชียลและมีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เมื่อผู้ใช้มีข้อร้องเรียนหรือคำถามและช่องทางสื่อสารอื่น ๆ ไม่สามารถใช้ได้ บัญชีโซเชียลมีเดียของแพลตฟอร์มเทรดคริปโตนั้น ๆ คือทางเลือกในการติดต่อที่ใช้ได้มากที่สุด การมีเพจโซเชียมีเดียอย่างเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอ แพลตฟอร์มจะต้องมีการโต้ตอบกับผู้ใช้และชุมชนทางออนไลน์ด้วย

ตัวอย่างการหลอกลวงคริปโตบน P2P

laptop suspicious typing
(Source: Unsplash)

การหลอกลวงบนแพลฟตอร์มคริปโตแบบ P2P นั้นมีอยู่หลายแบบ ด้านล่างนี้คือตัวอย่างของการหลอกลวงที่พบได้บ่อย 

การหลอกลวงผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

การหลอกลวงผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมักเกี่ยวกับการทำธุรกรรมบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่น่าสงสัย นักต้มตุ๋นจะใช้ราคาที่ต่ำหลอกล่อเหยื่อที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ จากนั้นจะส่งข้อมูลชำระเงินของผู้ขายคริปโตแบบ P2P ที่ไม่ถูกต้องไปให้เหยื่อ โดยอ้างว่าบัญชีนั้นเป็นบัญชีของตน เมื่อเหยื่อชำระเงินเข้ามาแล้ว ผู้ขายคริปโตจะส่งคริปโตไปยังสแกมเมอร์ที่รออยู่ก่อนจะหายตัวไป 

การหลอกลวงโดยหลอกให้ “รัก”

โรแมนซ์สแกมหรือการหลอกให้รักจะหลอกล่อโดยเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของเหยื่อที่ไม่ระแวดระวัง เพื่อเบนความสนใจจากเป้าหมายที่แท้จริง อาจฟังดูเหมือนว่าคุณไม่น่าจะติดกับได้ง่าย ๆ แต่จริง ๆ โรแมนซ์สแกมเป็นวิธีที่แพร่หลายอย่างมาก และเป็นหนึ่งในวิธีหลอกลวงที่พบบ่อยมากที่สุด ข้อมูลจาก U.S. Federal Trade Commission (FTC) ในปี 2019 เผยว่าความเสียหายจากโรแมนซ์สแกมมีมูลค่าถึง 201 ล้านดอลลาร์ โดยมีเหยื่อมากกว่า 25,000 ราย และเป็นอาชญากรรมที่มีการแจ้งต่อเอฟบีไอมากเป็นอันดับสองในปีนั้น 

สแกมเมอร์มักหาเหยื่อผ่านแอปหาคู่ เช่น Tinder และสร้างความสัมพันธ์ออนไลน์กับเหยื่อ โดยจะสร้างความไว้วางใจด้วยการแสร้งทำว่าสนใจเรื่องเดียวกันเพื่อค่อย ๆ ทำให้เหยื่อ "ตายใจ" เมื่อถึงจุดหนึ่ง นักต้มตุ๋นจะเริ่มหลอกเหยื่อให้ “ช่วยปัญหาเรื่องการเงิน” โดยการส่งเงินจริง ๆ หรือเงินคริปโตไปให้

โดยที่เหยื่อไม่ทันได้รู้ สแกมเมอร์ได้ให้รายละเอียดการโอนซึ่งเป็นของผู้ขายคริปโตที่ไม่รู้ตัว ซึ่งต่อมาจะส่งคริปโตให้กับสแกมเมอร์โดยคิดว่าเป็นการทำธรุกรรมที่ชำระค่าคริปโตด้วยเงินสดทั่วไป แล้วสแกมเมอร์ก็หายไปพร้อมกับเงินคริปโต เมื่อเหยื่อรู้ตัวว่าโดนหลอกก็จะพยายามยกเลิกการทำธุรกรรม แต่สแกมเมอร์จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ มีแต่ผู้ขายคริปโตเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ

เมื่อพบเหยื่ออันน่าโอชะ นักต้มตุ๋นที่หลอกให้ “รัก” มักจะไม่หยุดแค่นั้น บ่อยครั้ง เป้าหมายที่สแกมเมอร์เลือกมักเป็นผู้ที่อยู่คนเดียว บางครั้งเป็นผู้สูงวัย หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่มีความคิดที่ชัดเจน เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งเป้าหมายอาจรู้ตัวว่าตนติดกับ แต่บ่อยครั้งก็ไม่สามารถเอาตัวออกจากความผูกพันทางอารมณ์ที่ก่อขึ้นกับอาชญากรได้เพราะความใส่ใจแบบจอมปลอมที่ตนได้รับ 

การหลอกให้ลงทุน

วิธีนี้คล้ายกับการหลอกให้รัก เว้นแต่ว่า แทนที่จะเป็นการหลอกลวงทางอารมณ์ความรู้สึก สแกมเมอร์จะฉกฉวยโอกาสจากความปรารถนาด้านการเงินของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นความกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่างไป หรือแค่อยากทำกำไรเร็ว ๆ จากการลงทุน ในสถานการณ์เช่นนี้ สแกมเมอร์จะหาเหยื่อและหลอกล่อด้วยผลกำไรที่มีการ “การันตี” โดยอาจมีการสร้างเว็บไซต์หรือแอปปลอมเป็นฉากบังหน้าให้ดูหน้าเชื่อถือ จากนั้นสแกมเมอร์จะขอให้เหยื่อส่งเงินเข้าบัญชีเพื่อแลกกับเหรียญบิตคอยน์ที่พวกเขาจะได้รับ

ในความเป็นจริง บัญชีซึ่งจัดแจงขึ้นโดยสแกมเมอร์นั้นเป็นของผู้ขายคริปโตจริง ๆ FTC เผยว่ามีรายงานการหลอกลวงให้ลงทุนถึง 7,000 รายการระหว่างเดือนตุลาคม 2020 ถึงมีนาคม 2021 ส่งผลให้มีการสูญเงินถึง 80 ล้านดอลลาร์ 

การโอนที่ผิดพลาด การปฏิเสธการชำระเงิน และใบเสร็จปลอม

เมื่อมีการทำธุรกรรมบน P2P เรียบร้อยแล้ว สแกมเมอร์อาจพยายามยกเลิกการทำธุรกรรมนั้นโดยฉวยโอกาสจากกระบวนการที่ถูกต้องของธนาคาร ตัวอย่างเช่น สแกมเมอร์อาจโทรหาธนาคารเพื่อขอยกเลิกการทำธุรกรรมโดยอ้างว่าการโอนหรือบัญชีถูกปล้น โดยปกติธนาคารจะยินยอมช่วยโดยยกเลิกคำขอโอนเงินนั้น 

อีกหนึ่งการฉวยประโยชน์ที่พบได้บ่อยคือการใช้ฟีเจอร์ปฏิเสธการชำระเงินในทางที่ผิดบนแพลตฟอร์มการชำระเงิน เช่น PayPal วิธีนี้มักพุ่งเป้าไปที่ผู้ขายคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P เป็นพิเศษ เมื่อข้อเสนอผ่านแล้ว สแกมเมอร์จะเริ่มกระบวนการปฏิเสธการชำระเงินภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อตีกลับหรือยกเลิกการชำระเงิน การหลอกลวงนี้จะเสร็จสมบูรณ์เมื่อเหยื่อรีบอนุมัติการทำธุรกรรมโดยไม่ยืนยันก่อนว่ามีเงินอยู่ในบัญชีหรืออี-วอลเล็ตของตน 

ท้ายที่สุด นอกจากความขมขื่น เหยื่อจะไม่เหลืออะไรเลยทั้งคริปโตหรือกำไรจากการขาย เท่านั้นยังสาหัสไม่พอ เมื่อเหยื่อสูญเสียเงินในลักษณะนี้ บางครั้งสแกมเมอร์จะขู่เหยื่อไม่ให้แจ้งตำรวจ โดยอ้างว่าสกุลเงินดิจิทัลนั้น “ผิดกฎหมาย” หรืออยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจของหน่วยงานของรัฐ

เมื่อทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์ม P2P  การตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับอย่างละเอียดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก บางครั้ง สแกมเมอร์จะปลอมแปลงภาพถ่ายหน้าจอและรูปภาพอื่น ๆ เพื่ออ้างว่ามีการตกลงข้อเสนอนั้นแล้ว ก่อนกดดันให้เหยื่อชำระเงิน 

วิธีหลีกเลี่ยงการหลองลวงคริปโตบน P2P

การหลอกลวงบน P2P นั้นสามารถเลี่ยงได้ง่าย ๆ หากคุณนำข้อระมัดระวังง่าย ๆ เพียงไม่กี่ข้อนี้ไปใช้

  • ถ่ายภาพหน้าจอ: ถ่ายภาพหน้าจอการทำธุรกรรมของคุณทั้งหมดให้เป็นนิสัย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมที่สมบูรณ์ การมีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการหลอกลวงซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตนั้นสำคัญ หากเกิดปัญหา ให้ตั้งสติและรวบรวมหลักฐานทั้งหมด เช่น ภาพถ่ายหน้าจอและหลักฐานการสนทนา และนำมาใช้เพื่อแจ้งกับแพลตฟอร์ม P2P และป้องกันความพยายามในการปฏิเสธการชำระเงิน 

  • บริการดูแลผลประโยชน์: ใช้บริการตัวกลางดูแลผลประโยชน์ของแพลตฟอร์ม โดยปกติแพลตฟอร์ม P2P จะล็อคจำนวนคริปโตที่แสดงในโฆษณาของผู้ขาย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ขายจะไม่หลอกลวงผู้ซื้อ แต่หากมีอะไรน่าสงสัยก็อย่ากลัวที่จะเดินออกมา 

  • การยืนยันตัวตน: เลือกใช้เฉพาะแพลตฟอร์ม P2P ที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีการยืนยันตัวตนผู้ใช้ทั้งหมดตามการยืนยันตัวตน KYC คุณควรสละเวลาสักนิดเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกรรมโดยตรวจดูให้แน่ใจว่ารายละเอียดบัญชีชำระเงินของพวกเขาตรงกับตัวตนที่แสดงบนแพลตฟอร์ม

  • ยืนยันการทำธุรกรรม: ผู้ซื้อหรือผู้ขายควรตรวจสอบวอลเล็ตคริปโตหรือบัญชีธนาคารอยู่เสมอเพื่อยืนยันว่าการทำธุรกรรมนั้นเสร็จสมบูรณ์ ในฐานะผู้ขาย คุณควรอนุมัติการโอนคริปเมื่อทำการตรวจสอบยืนยันการชำระเงินด้วยตัวเองแล้วเท่านั้น ในทางตรงข้าม ผู้ซื้อควรตรวจสอบยอดคงเหลือในบัญชีเพื่อดูว่าได้รับคริปโตหรือไม่หลังจากที่อีกฝ่ายส่งหลักฐานการโอนมาให้แล้ว 

  • ควรมีบทสนทนาเฉพาะในแพลตฟอร์ม: จำกัดบทสนทนาของคุณกับผู้ซื้อหรือผู้ขายให้อยู่เฉพาะบนแพลตฟอร์ม P2P เท่านั้น อย่าตกลงที่จะใช้ช่องทางการสื่อสารอื่นที่อยู่นอกแพลตฟอร์ม เช่น Skype, Zoom, Discord, Telegram, WhatsApp เป็นต้น เพราะนั่นจะทำให้มีการปฏิเสธการทำธุรกรรมและหาข้ออ้างที่เป็นเท็จมาใช้กับคุณง่ายขึ้น 

  • ฝ่ายสนับสนุนลูกค้า: หากไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้าของแพลตฟอร์ม P2P นั้นทันทีเพื่อรับความช่วยเหลือ โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงจะมีระบบในการตรวจสอบและจัดการกับข้อพิพาท คุณควรรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัยเสมอ 

*หมายเหตุ: ผู้ขายควรระมัดระวังการขอชำระเงินที่น่าสงสัยที่ไม่ได้แนะนำโดยแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น อยู่ให้ห่างจากการชำระเงินด้วย "เช็ค" เพราะวิธีนี้น่าสงสัยว่าจะเป็นการหลอกลวง 

หากต้องการเห็นภาพว่าการทำธุรกรรม P2P โดยทั่วไปเป็นอย่างไร นี่คือตัวอย่างจาก แพลตฟอร์ม P2P ของ Bybit เมื่อมีการส่งคำสั่งซื้อแล้ว จำนวนเหรียญที่ระบุไว้จะถูกสำรองไว้โดย Bybit ผู้ซื้อสามารถทำการชำระเงินได้โดยใช้วิธีต่างๆ กว่า 80 วิธี รวมถึงบัตรเครดิต บัตรเดบิต ชำระด้วยเงินสด และอีกมากมาย หากผู้ขายไม่ปล่อยเหรียญภายใน 10 นาทีหลังจากที่ได้รับการชำระเงินแล้ว ฝ่ายสนับสนุนลูกค้าของ Bybit มีสิทธิ์ที่จะปล่อยเหรียญที่สำรองไว้ให้กับผู้ซื้อหลังทำการยืนยันแล้ว

และ Bybit ยังมีขีดจำกัดการทำธุรกรรมต่อวันสำหรับผู้ใช้ที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตนด้วย นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังกำหนดให้มีการยืนยันตัวตนสำหรับธุรกรรมที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 USDT โดยขึ้นอยู่กับว่าใช้สกุลเงิน Fiat ใด หากผู้ซื้อหรือผู้ขายมีปัญหากับคำสั่ง สามารถเข้าสู่บัญชี Bybit ของตนแล้วคลิกที่ไอคอนฝ่ายสนับสนุนที่มุมขวาล่างของหน้าเพื่อติดต่อฝ่ายสนับสนุนลูกค้าของ Bybit ผ่านทางแชตหรืออีเมล ทุกฝ่ายสามารถส่งหมายเลขคำสั่งและภาพถ่ายหน้าจอที่เกี่ยวข้องสำหรับเป็นหลักฐาน จากนั้นรอให้ข้อพิพาทได้รับการแก้ไข

ส่วนสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการหลอกลวงคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P

การหลอกลวงเงินคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P อาจสูงขึ้น แต่ก็มีวิธีมากมายที่คุณสามารถนำมาใช้เพื่อที่จะได้ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อ คอยระมัดระวังอยู่เสมอเมื่อรับเงินโอนจากบุคคลที่สาม และใช้บริการดูแลผลประโยชน์ของแพลตฟอร์ม ขอย้ำอีกครั้งว่าการหลอกลวงคริปโตบนแพลตฟอร์ม P2P นั้นไม่เหมือนกับการหลอกลวงคริปโตอื่นแบบอื่นเสมอไป ซึ่งคุณสามารถ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

แต่หากอยากจะเริ่มเทรด ลองดู แพลตฟอร์มเทรดแบบ P2P ของ Bybit เลย